scorezod.com
Menu

ข่าววัวชน โรคสัตว์สำคัญที่ต้องระวังในช่วงฤดูฝน

ข่าววัวชน เมื่อฤดูฝนมาถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์หมั่นระวังดูแลสุขภาพของสัตว์เลี้ยงให้ดี ขอแนะนำให้ความรู้ลักษณะอาการทั่วไปของสัตว์ป่วยที่เป็นโรคที่พบเสมอๆ ในช่วงต้นฤดูฝน

ข่าววัวชน

ข่าววัวชน โรคพยาธิที่สำคัญในโค-กระบือ
ส่วนมากเป็นพยาธิตัวกลม พบในสัตว์ช่วงอายุน้อย เป็นพวกพยาธิไส้เดือนซึ่งติดต่อมาจากแม่ทางสายรกและทางน้ำนม ทำให้อัตราการตายสูง ถ้าอายุเกิน 6 เดือนขึ้นไป จะมี พวกพยาธิเม็ดตุ่ม พยาธิปากขอ ซึ่งติดจากการกินตัว่อนของพยาธิที่อยู่ตามหญ้าเข้าไป โค กระบือจะผอม โลหิตจาง ท้องเสียเรื้อรัง เติบโตช้า ป้องกันรักษาได้โดยการให้ยาถ่ายพยาธิลูกโคทุกตัวเมื่ออายุ 3 สัปดาห์ และให้ยาซ้ำเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ ส่วนลูกโค กระบือที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไป ให้ถ่ายพยาธิปีละ 2 ครั้ง ยาถ่ายพยาธิที่ใช้ได้ผลดี เช่น ปิปเปอราซิน ซิเตรท ใช้ผสมอาหารหรือละลายน้ำให้กินใน ขนาด 22 กรัมต่อน้ำหนักสัตว์ 100 กิโลกรัม เฟนเบนดาโซล ใช้ผสมอาหารให้กินขนาด 500 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักสัตว์ 100 กิโลกรัม มีเบนดาโซล ให้กินขนาด 880 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักสัตว์ 100 กิโลกรัม อัลเบนดาโซล (11-12%) ให้กินขนาด 10 ซี.ซี. ต่อน้ำหนักสัตว์ 100 กิโลกรัม เป็นต้น [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]

โรคท้องอืด (Bloat)
เป็นโรคที่เกิดในสัตว์กินพืชเป็นอาหารหลักหรือสัตว์เคี้ยวเอื้องจำพวกโค กระบือ แพะ แกะ ฯ เป็นความผิดปกติของระบบย่อยอาหารในกระเพาะหมักใหญ่ (Rumen) โดยแก๊สที่เกิดขบวนการย่อยจะถูกขับออกช้าหรือไม่ถูกขับออก จึงสะสมอยู่ในกระเพาะเป็นจำนวนมาก ทำให้กระเพาะโป่งขยายใหญ่ไปกดทับกระบังลมมีผลกระทบต่อปอดและหัวใจในช่องอก

โรคไข้สามวัน
โรคนี้จะพบมากในโคทุกอายุ แต่ลูกโคอายุต่ำกว่า 6 เดือนมักไม่แสดงอาการ และจะพบโคเป็นโรคนี้มากในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะต้นฤดูฝน เกิดจากเชื้อไวรัส โคแสดงอาการมีไข้สูงเบื่ออาหาร กล้ามเนื้อสั่น ตัวแข็ง ขาแข็ง ขาเจ็บ ซึม น้ำมูกไหล เป็นอยู่ประมาณ 3 วัน เริ่มจะกินอาหาร ยกเว้นรายที่เป็นมาก จะอ่อนเพลียและนอนหอบไม่ยอมลุก โดยเฉพาะรายที่เจ็บขา ซึ่งจะทำให้มีโรคอื่นแทรกได้ สามารถป้องกันได้โดยการป้องกันแมลงดูดเลือดที่เป็นพาหะของโรคนี้ เมื่อพบโคป่วยเป็นโรคนี้ ควรตามสัตวแพทย์มาทำการรักษาโดยเร็ว โดยเฉพาะรายที่ล้มนอนกับพื้น เพื่อให้สัตว์ได้รับการดูแลที่เหมาะสมต่อไป [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]

โรคปากและเท้าเปื่อย
โรคนี้เกิดขึ้นกับสัตว์กีบคู่โดยเฉพาะโค กระบือ มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว เกิดจากเชื้อไวรัส สัตว์ที่ป่วยด้วยโรคนี้ จะมีอาการซึม มีไข้ เบื่ออาหาร มีเม็ดตุ่มพองเกิดขึ้นที่ริมฝีปากเหงือก และลิ้น น้ำลายไหลยืด กินอาหารไม่ได้ และเกิดเม็ดตุ่มที่ระหว่างซอกกีบ ไรกีบ ทำให้เจ็บขา เดินกะเผลก สัตว์จะผอม และอัตราการตายสูงในลูกสัตว์ ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนแล้วแผลจะหายเองภายใน 1-2 สัปดาห์ ถ้าพบสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคนี้ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าสัตวแพทย์ในท้องที่โดยเร็ว และป้องกันโรคโดยฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ทั้ง 3 ไทป์ คือ ไทป์โอ เอ และเอเชียวัน โดยในโค กระบือจะฉีดวัคซีนที่อายุ 6 เดือน [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]

โรคเฮโมรายิกเซติกซีเมีย หรือโรคคอบวม
เป็นโรคที่รุนแรงในโค กระบือ ความรุนแรงน้อยลงในสัตว์อื่นๆ เช่น ม้า อูฐ และช้าง อาการที่สำคัญคือ หายใจหอบลึกมีเสียงดัง คอและหน้าจะบวมแข็ง อัตราการป่วยและตายสูงเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีการระบาดมากช่วงต้นและปลายฤดูฝน สัตว์ที่เป็นโรคนี้แบบเฉียบพลัน อาจตายภายในไม่เกิน 24 ชั่วโมง ถ้าแบบเรื้อรัง จะมีอาการเสียดท้อง ท้องอืด อุจจาระมีมูกเลือดปน สัตว์จะตายภายใน 2-3 วัน ควบคุมป้องกันโรคนี้ได้โดยเมื่อมีสัตว์ป่วยและตายเนื่องจากโรคนี้ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ในท้องที่โดยเร็ว พร้อมทั้งแยกสัตว์ป่วยออกจากฝูง หลีกเลี่ยงสภาวะที่จะทำให้สัตว์เครียด ทำวัคซินป้องกันโรคให้โค กระบือ ที่มีอายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป ทำปีละ 1 ครั้ง [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]

โรคตาอักเสบติดต่อในโค
โรคนี้จะมีการระบาดมากในช่วงฤดูฝน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส หรือปรสิต หรือเชื้อรา แพร่โรคโดยแมลงต่างๆ สัตว์ที่ป่วยด้วยโรคนี้จะมีอาการโดยรวม คือ น้ำตาไหล เยื่อบุตามีสีแดง กระจกตาขุ่นขาว หรือมีสีชมพู อาจมีขี้ตาหรือหนองเกรอะกรัง และถ้าเป็นนานๆ จะทำให้ตาบอดได้ วิธีการควบคุม คือ กำจัดแมลงที่มาตอมบริเวณตาที่อยู่ตามคอกที่อยู่อาศัยของสัตว์ [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]

โรคกีบเน่า
แสดงอาการขาเจ็บเนื่องจากส่วนต่างๆ ของกีบมีการอักเสบ โคจะแสดงอาการเจ็บขา เดินกะเผลก สันกีบและซอกกีบบวมแดง มีแผลรูที่มีน้ำสีดำคล้ำไหลออกมากลิ่นเหม็นมาก มักพบในโคทุกอายุ แต่จะพบมากในโคที่มีอายุ แม่โคที่ กำลังให้นม น้ำนมจะลดลงกว่าปกติ โรคนี้เกิดได้ทุกฤดูแต่จะพบมากในฤดูฝน และมีสาเหตุโน้มนำมาจากการเลี้ยงโคในคอกที่ชื้นแฉะตลอดเวลา หรือคอกที่มีแอ่งโคลนมีก้อนหิน ก้อนกรวดปะปนอยู่ หรือคอกที่มีพื้นแข็งและแห้ง ซึ่งสภาพเช่นนี้จะทำให้กีบมีการบวม มีแผลตามสันกีบและซอกกีบ เชื้อแบคทีเรียจึงผ่านเข้าทางบาดแผล เกิดการอักเสบที่บริเวณกีบได้ โคที่เป็นโรคนี้จะมีน้ำสีดำๆ กลิ่นเหม็น ออกมาจากแผลปะปนในแปลงหญ้า พื้นคอก ทำให้โรคแพร่ระบาดไปยังโคตัวอื่นๆ ได้ [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]

โรคเลปโตสไปโรสิส (Leptospirosis)หรือ โรคฉี่หนู
เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนทีไรอดไม่ได้ที่จะพูดถึงโรคสัตว์ติดคนโรคหนึ่งที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษคือ โรคเลปโตสไปโรสิส หรือ คนทั่วไปเรียกว่า “โรคฉี่หนู” จากการรายงานของสำนักงานระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคเลปโตสไปโรซีสจำนวนมาก รายงานเมื่อปี 2549 สรุปทั้งปีพบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นจำนวน 73 ราย จากผู้ป่วยทั้งหมด 3,640 ราย พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด รองลงมาเป็นภาคเหนือ มีผู้ป่วยบางส่วนที่ได้รับเชื้อมาจากสัตว์เลี้ยงไม่ว่าจะเป็นสุนัข สุกร โค กระบือ แพะ แกะ โดยที่เกษตรกรอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เนื่องจากว่าการแสดงอาการของสัตว์ที่ป่วยไม่ชัดเจน หรืออาจเกิดจากเกษตรกรยังไม่รู้จักโรคเลปโตสไปโรสิสมากพอ จึงควรรู้จักโรคเลปโตสไปโรสิสและธรรมชาติของโรคดังนี้

โรคเลปโตสไปโรซีส เป็นโรคที่พบได้ทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตที่มีความชื้นสูง เกิดจากเชื้อเลปโตสไปร่า มีลักษณะเป็นเกลียว โดยมีสัตว์ฟันแทะโดยเฉพาะหนูเป็นตัวพาหะจึงเป็นที่มาของชื่อ โรคฉี่หนู เชื้อนี้สามารถอาศัยอยู่ในน้ำได้หลายชั่วโมง และ อาศัยในโคลนได้นาน เชื้อเลปโตสไปร่าสามารถมีชีวิตอยู่ในดินหรือในน้ำได้นานถึง 6 เดือน ในสภาวะที่เหมาะสม ฝูงปศุสัตว์ได้รับเชื้อจากการเล็มหญ้า ดื่มน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน หรือกินอาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะหนู

รับข่าวสารวัวชนเพิ่มเติม
รวม ข่าววัวชน <<คลิ๊ก!!

โพสต์โดย : SUPERWARIOR711 SUPERWARIOR711 เมื่อ 24 พ.ย. 2565 12:11:06 น. อ่าน 149 ตอบ 0

facebook