scorezod.com
Menu

เทคนิคการจัดการความโกรธ

เกิดอะไรขึ้นหากเราไม่ดูแล จัดการความโกรธที่เกิดขึ้น

หากไม่จัดการความโกรธ ความโกรธมีแนวโน้มแสดงออกได้ทั้งแบบก้าวร้าวต่อตนเองและก้าวร้าวต่อผู้อื่น


ความโกรธมักไปแสดงออกในแบบที่ทำร้ายตนเองได้หากคุณไม่เข้าใจ ไม่ยอมรับความโกรธที่เกิดขึ้นและเก็บกดไว้ ความโกรธยังไม่หายไปไหนและกลับมาเป็นความก้าวร้าวกับตนเองได้ เช่น คุณอาจไม่พอใจเจ้านาย คุณอาจแสดงพฤติกรรมในทางที่ทำให้เกิดผลเสียต่อตนเองได้ เช่น การมาทำงานสาย การไม่ส่งงาน การนอนมากเกินไปจนมาทำงานไม่ทัน หรือการแสดงออกในแบบก้าวร้าว ซึ่งอาจส่งผลให้ถูกออกจากงานได้หรือทำให้เกิดปัญหาในการทำงาน ซึ่งทำให้เป้าหมายในชีวิตไม่เป็นตามที่ตั้งใจไว้แต่หากก้าวร้าวกับผู้อื่นมีผลให้สูญเสียความสัมพันธ์ เสียภาพพจน์หรือเสียชื่อเสียง ขาดความน่าเชื่อถือ หรือหากรุนแรงมาก เกิดทำร้ายกันก็ทำสูญเสียทั้งร่างกายและทรัพย์สินได้


จริงๆ เรื่องความโกรธก็มีผู้รู้เขียนไว้จำนวนมาก แต่ในสภาพสังคมปัจจุบัน ดูเหมือนเราได้รับการกระตุ้นให้เกิดความโกรธได้ง่าย การที่อ่านแล้วระลึกถึงบ่อยๆ ช่วยให้เรารู้ตัวและฉุดตนเองออกจากวงจรความโกรธได้


ปรับทัศนคติ มองความโกรธในแง่บวก หันมาดูความเชื่อความเข้าใจต่อความโกรธ ความโกธรที่เกิดขึ้นนั้นมีประโยชน์ ทำให้เรารับรู้ว่าเราถูกล่วงละเมิดสิทธิ เกิดอันตราย ทัศนคติที่ดีของพ่อแม่ที่มีต่อความโกรธสามารถมีผลต่อวิธีการเลี้ยงลูก เมื่อเห็นลูกโกรธแล้วทำลายข้าวของ ให้ถือเป็นโอกาสสอนลูกว่าตอนนี้เขากำลังโกรธ ลองพาลูกไปทำกิจกรรมอย่างอื่นที่สร้างสรรค์แทน ทัศนคติที่ดีต่อความโกรธ จะทำให้คุณสามารถคิดวิธีการจัดการได้อย่างสร้างสรรค์



การมีอารมณ์โกรธจึงไม่ใช่ปัญหา ควบคุมจัดการต่างหากที่เป็นปัญหา สมองส่วนของอารมณ์และการควบคุมจัดการอารมณ์เป็นอยู่คนละส่วน ทำร่วมกันได้ แน่นอนการฝึกฝนการควบคุมความโกรธจึงอยู่ภายใต้การควบคุมของเราเอง



ตระหนักรู้ว่ามีความโกรธเกิดขึ้นจากการสังเกตร่างกายของเรา ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเสมอเมื่อความโกรธเกิดขึ้น การสังเกตร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจทำให้เรารู้เท่าทันความโกรธ



ยอมรับความโกรธที่เกิดขึ้นในตนเอง การยอมรับทำให้ความโกรธลดลง อันนี้ต้องลองทำกันดู หากเรายิ่งโทษสิ่งแวดล้อม แน่นอนว่ามีปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้โกรธ แต่เราอาจมีประสบการณ์ว่ายิ่งเราหาคนมารับผิดชอบกับความรู้สึกของเรา ความโกรธก็ยิ่งเพิ่มขึ้น



รับผิดชอบ ต่อความรู้สึกของคุณเอง แน่นอนอะไรที่เรารู้สึกเป็นเจ้าของก็จัดการได้ง่ายกว่าเสมอ



9 เทคนิคทางบวก จัดการอย่างไรเมื่อพูดคุยกันแล้วรู้สึกโกรธ


1. ตระหนักรู้อารมณ์โกรธที่เกิดขึ้น ร่างกายของคุณมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หัวใจเต้นมากขึ้น รู้สึกร้อนๆ บริเวณใบหน้า การหายใจสั้นลง


2. ยอมรับความโกรธที่เกิดขึ้น ช่วยให้ความโกรธลดลง


3. หายใจเข้าออกลึกๆ


4. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น อย่าหวั่นไหวกับความเห็นของผู้อื่นหรือรู้สึกด้อย


5. ใช้ I message บอกกับคู่สนทนาว่า คุณคิดอย่างไร “ดิฉันคิดว่า…” ดิฉันอยากเสนอว่า….” “ขอเสนอความเห็นว่า….”


6. ดำเนินการสนทนาไปเรื่อยๆ


7. หากรู้สึกควบคุมไม่ได้ ให้ออกมาจากสถานการณ์นั้นก่อน และควรขอตัวคู่สนทนา อาจบอกวันนี้ขอคุยเรื่องนี้เพียงเท่านี้ก่อน


8. ปรับเปลี่ยนความคิด คิดแบบใดก็ได้ที่ทำให้โกรธน้อยลง การขัดแย้งหลายครั้งก็นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์ และการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ


9. หลีกเลี่ยงการนินทา เพราะนำไปสู่ความเข้าใจผิดและเกิดความขัดแย้งมากขึ้น


โพสต์โดย : เจ้าหนู เจ้าหนู เมื่อ 15 ธ.ค. 2566 18:44:58 น. อ่าน 68 ตอบ 0

facebook