น้ำตาลทรายแดง หอมมาก หวานน้อย น้ำตาลทรายแดง ได้จากการนำาน้ำอ้อยมาเคียว โดยหมั่นตักเอาสิ่งสกปรกออกจนน้ำเชื่อมใส ใส่ปูนขาวลงไปเล็กน้อย ไม่อย่างนั้นน้ำตาลจะไม่ตกทราย จากนั้นก็เคี่ยวน้ำเชื่อมต่อไปเรื่อยๆ จนแห้ง จะออกมาเป็นเม็ดทรายบ้าง จับตัวเป็นก้อนเล็กก้อนใหญ่บ้าง สีออกน้ำตาลแดง
น้ำตาลทรายแดงจะหอมน้อยกว่า “น้ำตาลอ้อย” วิตามิน แร่ธาตุและกากใยอาหารลดลงไปบ้าง มีความหวานน้อยกว่าน้ำตาลทรายขัดขาว 50% ไม่ควรใช้ในปริมาณมาก ใช้ทำน้ำขิง (ผสมกับน้ำตาลทราย หรือน้ำตาลเทียมลงไปด้วย) ผัดหมี่ได้ดี (สีน้ำตาลเหมือนซีอิ๊วดำ) แต่ไม่เหมาะกับอาหารที่ไม่ต้องการให้สีสันและรสชาติดั้งเดิมเปลี่ยนไป เช่น เครื่องดื่มมะนาว ส้มตำ เพราะกลิ่นและรสชาติของน้ำตาลจะไปรบกวนอาหาร
น้ำตาลมะพร้าว หวานน้อย น้ำตาลมะพร้าว ทำมาจากจั่นมะพร้าว (คือช่อดอกของต้นมะพร้าว) คล้ายน้ำาตาลโตนด เพียงแต่กลิ่นไม่หอมเท่า (แต่ก็มีกลิ่นหอมแบบมีรสมันคล้ายกะทิ) และ
รสชาติที่หวานแหลมกว่าน้ำตาลโตนด ไม่กลมกล่อมเหมือนน้ำตาลโตนด แต่หวานน้อยกว่าน้ำตาลทรายขัดขาวอยู่มาก น้ำตาลมะพร้าวบางครั้งเรียกว่า น้ำตาลปึก หรือน้ำตาลปี๊บ สีของน้ำตาลมะพร้าวแท้จะออกเหลืองเข้มไปจนถึงสีน้ำตาล ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบและเวลาในการเคี่ยว
นิยมใช้ทำอาหารทดแทนน้ำตาลโตนด น้ำผึ้งล่ะ ใช้ได้แค่ไหน น้ำผึ้งประกอบด้วยน้ำตาลฟรุคโตส ได้จากของเหลวในเกสรดอกไม้ที่มีแมลงตัวเล็กๆ อย่างผึ้งงานเป็นผู้รวบรวมมา น้ำผึ้งจะมีสีแตกต่างกันบ้างมรสีเหลืองอ่อน เหลืองเข้มออกเขียว สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลไหม้ ฯลฯ ขึ้นอยู่กับชนิดของเกสรดอกไม้ในบริเวณที่ผึ้งอาศัยอยู่
น้ำผึ้งเดือนห้าถือว่ามีความบริสุทธิ์และเข้มข้นมาก เพราะเป็นช่วงที่ผึ้งเก็บเกี่ยวน้ำหวานไว้จนเต็มรวงที่ตรงกับช่วงหน้าแล้ง ไม่ค่อยมีน้ำเจือปน น้ำผึ้งมีสรรพคุณสมุนไพร
ช่วยในการขับถ่าย ฆ่าเชื้อบางชนิดได้ นิยมนำามากินกับขนมปัง แพนเค้ก หรือชงเป็นเครื่องดื่ม เช่น น้ำมะนาว แต่ไม่ควรใช้ในปริมาณมาก
ฟรุคโตสในผลไม้ ดีที่หวานมาก ใช้แต่น้อย น้ำตาลฟรุคโตส (หรือเรียกว่าลีวูโลส หรือน้ำตาลผลไม้) เป็นน้ำตาลที่พบในผลไม้ มีในผักบางชนิดและน้ำผึ้งด้วย มีความหวาน 140% ของน้ำตาลทราย คือ ใส่ไม่มากก็หวานแล้ว