scorezod.com
Menu

5 เหตุผลที่ทำให้คุณกระหายอาหารเค็ม

    เกลือเป็นเครื่องปรุงรสที่ทุกคนรู้จักกันดีอยู่แล้ว แม้ว่ามันจะช่วยให้อาหารมีรสชาติที่อร่อยกลมกล่อมมากขึ้น แต่การทานเกลือมากเกินไปกลับทำให้เกิดปัญหาอย่างการมีความดันโลหิตสูง และแม้แต่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคไต โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือโรคหลอดเลือดสมอง อย่างไรก็ดี การที่เรารู้สึกกระหายอาหารที่มีรสเค็มจัดนั้นสามารถทำให้เราทานเกลือมากกว่าที่ร่างกายต้องการ ซึ่งมันอาจเป็นสัญญาณเตือนบางอย่างจากร่างกายที่คุณอาจคิดไม่ถึง แต่ก่อนที่เราจะไปดูว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้คุณอยากทานอาหารที่มีรสเค็ม เราลองมาดูกันก่อนดีกว่าว่าการทานอาหารรสเค็มเท่าไรถึงเรียกว่ามากเกินไป
  ปริมาณโซเดียมที่ร่างกายต้องการ ร่างกายของมนุษย์มีโซเดียมอยู่ในของเหลวของร่างกายอย่างเลือด ปัสสาวะ และเหงื่อประมาณ 250 กรัม ซึ่งปริมาณโซเดียมที่คุณจำเป็นต้องทานนั้นไม่ควรเกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าเราไม่ควรทานเกลือเกินวันละ 5 กรัม หรือเทียบเท่าประมาณ 1 ช้อนชา
 1.ร่างกายขาดน้ำ การมีเหงื่อออก ท้องเสีย อาเจียนมากเกินไป หรือดื่มน้ำไม่เพียงพอ ก็สามารถทำให้ร่างกายขาดน้ำ และทำให้คุณกระหายอาหารที่มีรสเค็ม ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าร่างกายสูญเสียโซเดียมไปพร้อมกับน้ำที่ร่างกายขับออกมาในระหว่างที่ปัสสาวะ เหงื่อออก หรือท้องเสีย ดังนั้นร่างกายจึงกระหายอาหารที่มีรสเค็มอย่างเป็นธรรมชาติเพื่อชดเชยโซเดียมที่สูญเสียไป และสร้างสมดุลให้กับเกลือในร่างกาย นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมวิธีเติมน้ำให้ร่างกายแก่คนที่ขาดน้ำจึงมักมีส่วนผสมของเกลือและน้ำตาลที่ช่วยคืนความสมดุลนั่นเอง
  2.กระหายอาหารหลังออกกำลังกาย หากคุณพบว่าตัวเองกระหายอาหารที่มีรสเค็มหลังออกกำลังกาย มันก็อาจเป็นเพราะว่าร่างกายพยายามทดแทนโซเดียมที่เสียไปพร้อมกับเหงื่อในระหว่างออกกำลังกาย อย่างไรก็ดี มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่นักวิจัยได้ประเมินความพอใจเกี่ยวกับปริมาณเกลือในซุปมะเขือเทศทั้งช่วงก่อนและหลังออกกำลังกาย พวกเขาได้ใช้นักเรียนที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นตัวควบคุมและความพอใจที่วัดได้ก่อนออกกำลังกายเป็นบรรทัดฐาน โดยพบว่า นักเรียนต้องการใส่เกลือในซุปเพิ่มขึ้น 50% หลังจากออกกำลังกาย
  3.ขาดแร่ธาตุ หากร่างกายได้รับแร่ธาตุไม่เพียงพอ มันก็สามารถทำให้เรากระหายอาหารที่มีรสเค็มได้ ซึ่งความสมดุลระหว่างระดับของเกลือและแร่ธาตุในร่างกายเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน ในบางครั้งการทานอาหารที่มีโพแทสเซียม แคลเซียม หรือแม้แต่ธาตุเหล็ก ก็สามารถทำให้คุณรู้สึกอยากทานอาหารที่มีรสเค็ม
   4.โรคแอดดิสัน คนที่เป็นโรคแอดดิสันเผชิญภาวะขาดฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไตอย่างรุนแรง ซึ่งหมายความรวมถึงฮอร์โมนอัลดอสเตอโรน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมน้ำและเกลือภายในร่างกาย หากคุณเป็นโรคดังกล่าว คุณอาจมีอาการเหนื่อยอย่างรุนแรง เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง ความดันโลหิตต่ำ กล้ามเนื้อเกร็ง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ หน้ามืด ท้องเสีย อาเจียน หรือแม้แต่มีอาการซึมเศร้าหรือฉุนเฉียวง่าย ถ้าคุณเป็นโรคแอดดิสัน ร่างกายจะไม่สามารถรักษาความสมดุลของเกลือได้อย่างเหมาะสม คุณจะพบว่าตัวเองกระหายอาหารที่มีรสเค็มเพื่อทดแทนเกลือที่เสียไป
   5.ติดเกลือ นักวิจัยกล่าวว่า การที่คุณกระหายอาหารที่มีรสเค็มนั้นอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณติดเกลืออย่างถอนตัวไม่ขึ้น ซึ่งนักวิจัยพบว่าอาหารที่มีรสเค็มมีฤทธิ์เหมือนกับโอปิแอต (Opiate) แบบอ่อนๆ ซึ่งการติดอาหารที่มีรสเค็มจะไปกระตุ้นสารโดพามีนและตัวรับโอปิแอตในสมองส่วนให้รางวัล (Brain Reward Center) ทำให้คุณรู้สึกว่าอาหารที่มีรสเค็มมีรสชาติที่อร่อย และต้องการทานมันเมื่อเผชิญภาวะ Opiate Withdrawal
     แม้ว่าร่างกายของเราต้องการโซเดียม แต่หากไม่ควบคุมการทานอาหารที่มีโซเดียมอย่างเหมาะสม มันก็สามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ดังนั้นใครที่ชอบทานอาหารที่มีรสเค็ม คุณก็อย่าลืมจำกัดการทานโซเดียมเพื่อไม่ให้ได้โรคร้ายแถมมาด้วย

โพสต์โดย : solo solo เมื่อ 12 พ.ย. 2566 07:32:35 น. อ่าน 102 ตอบ 0

facebook